วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"Know Ledge"

สัปดาห์ที่ 8 วิชา 21035203 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ผู้สอน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี

"Know Ledge "


                                       ที่มาภาพ:https://kminbusiness.files.wordpress.com

การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

นิยาม                                                                                                            ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล                                                                                                        

ประเภทของความรู้                                                                                    ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เว็บไซต์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

ความรู้แบบฝังลึก

ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่

ความรู้ชัดแจ้ง


ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด
ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้
การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้

ระดับของความรู้

หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
  1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
  2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
  3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
  4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

กรอบแนวคิดการจัดการความรู้

ตัวอย่างแผนผังอิชิคะวะ
แผนผังอิชิคะวะ (Ishikawa diagram) หรือแผงผังก้างปลา (หรือในชื่ออื่นของไทยเช่น ตัวแบบทูน่า หรือตัวแบบปลาตะเพียน) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
  1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision - KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"
  2. ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing - KS) ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
  3. ส่วนหาง (Knowledge Assets - KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ "สะบัดหาง" สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนาตัวแบบทูน่าเป็น "ตัวแบบปลาตะเพียน" โดยมองว่าองค์การมีหน่วยงานย่อย ซึ่งมีความแตกต่างกัน รูปแบบความรู้แต่ละหน่วยจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับบริษัทของตน แต่ทั้งฝูงปลาจะหันหน้าไปทิศทางเดียวกัน
กรอบความคิดของ Holsapple Holsapple ได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการของแนวคิดของการจัดการความรู้ 10 แบบมาประมวล ซึ่งแสดงถึงส่วนประกอบของการจัดการความรู้ (KM elements) เพื่อนำไปจัดระบบเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ด้านของการจัดการความรู้ (Three-fold framework) ได้แก่ ทรัพยากรด้านการจัดการความรู้ กิจกรรมการจัดการความรู้ และอิทธิพลของการจัดการความรู้ และให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ให้ข้อคิดเห็น วิจารณ์และข้อเสนอแนะ ได้ผลออกมาเป็นกรอบความร่วมมือ (Collaborative Framework)

การถ่ายทอดความรู้

การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กระจายอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น

การจัดการความรู้ กับการพัฒนาระบบราชการในประเทศไทย

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อผลักดันแนวคิดธรรมาภิบาล (Good Governance) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น ในมาตรา ๑๑ กำหนดว่า
ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ จึงเป็นที่มาของการประเมินผลงานหน่วยราชการต่างๆ โดยมีการจัดการความรู้ เป็นข้อหนึ่งด้วย หน่วยราชการไทยจำนวนมากจึงเริ่มสนใจการจัดการความรู้ ด้วยสาเหตุนี้

อ้างอิง

  • กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2553) เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ,ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์,2549. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
  • สิ่งดีๆ ที่หลากหลายสไตล์ KM (Best Practice KM Style). รายงานประจำปี 2549 สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)ISBN 974-973-423-1
  • รายงานประจำปี KM ประเทศไทย (สคส.) 2548 ISBN 974-93722-9-8
  • ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). การจัดการความรู้. ใน วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 45(2), 1-24.
  • พิเชฐ บัญญัติ. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กร. ใน วารสารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 13(1), 118-122.


"ระบบการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ"

สัปดาห์ที่ 7 วิชา 21035203 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ผู้สอน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี

"ระบบการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ"

ระบบการเรียนการสอน 

                ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้ องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน                 ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ โดยมีองค์ประกอบ ส่วน คือ
   1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
   
วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
   2. 
กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
   3. 
ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
   4. 
การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
 
ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
   5. 
การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ 
   
เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร
   
เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
   6. 
ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า
   
เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
   
ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต 

ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ 

คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอน หรือครู 

                เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน                 ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ
หลักสูตร หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 

หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
เนื้อหาสาระที่เรียน 
กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และ
การประเมินผล
                สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯกระบวนการ Process ) ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด 
          
การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้นจึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน นาที และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อมผลผลิต ( Output ) ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน 
-
พุทธิพิสัย ( Cognitive ) 
-
จิตพิสัย ( Affective ) และ
-
ทักษะพิสัย ( Psychomotor ) 
          
การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง

ระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี

เนิร์ค และเยนตรี (Knirk; & Gentry. 1971) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนเป็น 6 ส่วน คือ
1. การกำหนดเป้าหมาย เป็นการกำหนดเป้าหมายของการสอนไว้อย่างกว้าง ๆ
2. การวิเคราะห์กิจกรรม เป็นการวิเคราะห์งานต่าง ๆ ที่จะต้องทำโดยการย่อยเป้าหมายของการสอนออกเป็นจุดประสงค์ของการสอนเพื่อให้มีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น
3. การกำหนดกิจกรรม เป็นการกำหนดกิจกรรมให้เป็นหมวดหมู่ และเลือกเอาเฉพาะกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่สุด
4. การดำเนินการสอน เป็นขั้นของการนำเอาแผนการที่วางไว้ไปสอนในชั้นเรียน ผู้สอนจำเป็นต้องควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
5. การประเมินผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดของระบบ เพื่อให้ทราบจุดดีและจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
6. การปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นของการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลไปแก้ไขจุดอ่อนของระบบการเรียนการสอนเพื่อจะทำให้เป็นระบบการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี แสดงดังภาพประกอบ 1



ภาพประกอบ 1 ระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี
ที่มา: Knirk; & Gentry. (1971). Applied Instructional Systems. Educational Technology. 11(6), 58-62.

ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels; & Glasgow. 1990) ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการพิจารณาว่าเกิดปัญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผ่านการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. วิเคราะห์การสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านเจตคติเพื่อกำหนดสิ่งที่ได้เรียนมาก่อน
3. การกำหนดวัตถุประสงค์และแบบทดสอบ (Objective and Tests) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ์
4. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategy) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เป็นการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใช้เพื่อทำให้การเรียนการสอนบรรลุผล
6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เป็นการวางแผนสำหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
7. การประเมินผลย่อยระหว่างเรียน (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน
8. การนำไปใช้และบำรุงรักษา (Implementation Maintenance) เป็นการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เป็นการพิจารณาประเมินผลว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
10. การเผยแพร่และขยายผล (Dissemination Diffusion) เป็นขั้นของการจัดการให้มีการเผยแพร่ ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์ แสดงดังภาพประกอบ 



ภาพประกอบ ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

ที่มา: Seels; & Glasgow. (1990). Exercises in Instructional Design.
   

ระบบการเรียนการสอนของRobert  Gange  Model

กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  9 ประการ
1.เร่งเร้าความสนใจ  (Gain Attention)ก่อนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของการเรียนและทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เช่น การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนควรนำเสนอภาพประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย ได้ใจความ
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดีหากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิดร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาและร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านเพียงอย่างเดียว
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) บทเรียนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้หลังจากศึกษาบทเรียน(Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง
9. สรุปและนำไปใช้(Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว 



                                                                         ภาพประกอบ ระบบการเรียนการสอนของโรเบริตกาเย่

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

"Outcome Based Education"

สัปดาห์ที่ 5 วิชา 21035203 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ผู้สอน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี

"Outcome Based Education"

First slide

ที่มา http://http://www.jssaten.ac.in/About_OBE.php


การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)
         
           การศึกษาของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่มุ่ง ใส่” เนื้อหาให้ผู้เรียน (Input-based Education) เราคิดว่านักเรียนนักศึกษาควรจะต้องมีความรู้อะไร เราก็จะ ใส่ความรู้ (Input) เข้าไป โดย วิธีการ บรรยาย” ให้ฟัง และบังคับให้จำด้วยการ สอบ” การเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาไทยจึงเป็นหรือ การเรียนรู้จากการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) โดยอาจารย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา (Teacher-centered) การศึกษาเช่นนี้มุ่งการ จ า” ไม่ได้มุ่งที่การ คิด” เพราะถ้าหากว่า คิด” แล้วไม่เหมือนอาจารย์และตอบข้อสอบต่างจากที่อาจารย์สอนก็จะไม่ได้คะแนน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่า สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทั้งหมดในโลกใบนี้ ก็เพราะมนุษย์มีความสามารถในการ คิด” เมื่อคิดเป็นก็วิเคราะห์ ปัญหาได้หาสาเหตุได้และหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่เรากลับให้นักเรียนนักศึกษาของเรา จำโดยไม่ มุ่งให้ คิด” การศึกษาไทยจึงไม่สามารถสร้าง คน” ที่มีความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ต่อให้มีความรู้ก็ใช้ ความรู้ไม่เป็น และมักจะใช้ความรู้โดยไม่รับผิดชอบ
          บางทีปัญหาทั้งหมดของเราอาจจะมีสาเหตุง่าย ๆ คือ เราเองก็ลืม คิด” ไปว่า เป้าหมาย” หรือ “ผลลัพธ์” ของการศึกษาคืออะไร การศึกษาไทยจึงไม่ได้มุ่งผลลัพธ์ แต่มุ่งใส่ความรู้ โดยครูและอาจารย์เป็น ศูนย์กลาง ถ้าจะแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศไทย จะต้องเปลี่ยนจากการศึกษาที่มุ่ง การใส่ความรู้ (Input-based Education) ให้เป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) โดยผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Student-centered)และครูอาจารย์เป็นผู้จัดกระบวนการ เรียนรู้” และถ้าเข้าใจความข้อนี้ การ บรรยายก็จะเป็นเพียง กิจกรรม” หรือวิธีการหนึ่งเท่านั้นในการพาผู้เรียนไปสู่ ผลลัพธ์” การเรียนรู้ก็จะ เปลี่ยนจากการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) เป็นการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม หรือการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคต่างๆ มากมาย โดยวิธีการที่สำคัญ ที่สุดก็คือ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้” (Problem-based Learning) “การท าโครงงานเป็นฐานใน การเรียนรู้” (Project-based Learning) และ การเรียนรู้โดยการบริการสังคม” (Service Learning) ซึ่ง ล้วนแต่เป็นActivity-based Learning หรือ Active Learning ที่เป็นวิธีการเรียนรู้ของ Outcome-based Education ทั้งสิ้น


หลักการของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์” และ การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
เราสามารถสรุปหลักการพื้นฐานของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ที่ เป็น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน” (Activity-based Learning) ได้ดังต่อไปนี้
          ๑. การศึกษาที่มุ่ง ผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ไม่ใช่การศึกษาที่มุ่งใส่ความรู้” (Input based Education) โดยก่อนอื่นผู้สอนจะตั้ง ผลลัพธ์” ที่ผู้เรียนควรจะได้หรือควรจะเป็นหลังจาก เสร็จสิ้นการเรียน จากนั้นจึงออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้” เพื่อมุ่งไปสู่ ผลลัพธ์” นั้น ขณะที่ การศึกษาที่มุ่ง ใส่ความรู้จะคู่กับการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย ส่วนการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงคู่กันกับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม (Activity-based Learning)
          ๒. ผู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน ไม่ใช่ผู้สอน แต่คือตัวผู้เรียนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นวิทยากร กระบวนการ” (facilitator) ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดได้ และเรียนรู้” ด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็น ศูนย์กลาง” ของการเรียน (student-centered)
          ๓. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงเป็น แนวระนาบ” มิใช่ แนวดิ่ง” ที่อาจารย์มีอำนาจ” และเป็นผู้ผูกขาด “ความรู้” โดยผู้เรียนมี หน้าที่” ต้องจดต้องจำต้องทำตามที่อาจารย์บอก และวัดผลว่าถ้าใคร จำ” และตอบตามที่อาจารย์ สอน” ได้มากเท่าไร ยิ่งได้คะแนนดีมากเท่านั้น หากเป็นการเรียนการสอน “แนวระนาบ” ที่ครูหรืออาจารย์จะเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนนักศึกษา และเรียนรู้จากนักเรียนนักศึกษา ได้ด้วย
          ๔. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ไม่ใช้วิธีการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย  (Lecture-based Learning) แต่ใช้ วิธีการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งได้แก่ การ เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) ซึ่งก็คือการให้ โครงงานที่ทำเป็นโครงงานที่ไปบริการสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการใช้ความรู้โดย รับผิดชอบต่อสังคมด้วย 
         ๕. ต้องมีการให้ผู้เรียนได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้ (reflection) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และต้องมีการประเมินผล หรือประเมิน ผลลัพธ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ เกิดการพัฒนาตนเอง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบว่าวิธีการที่ใช้นั้นได้ผล” หรือไม่ ถ้าไม่ได้ “ผล” หรือได้ ผล” น้อย ก็ต้องปรับวิธีการให้ได้ผลมากขึ้นในครั้งต่อไป 

ผลการเรียนรู้ของ สพฐ.กำหนดไว้ 3 ด้าน

1. Cognitive Domain

2. Affective Domain

3. Psychomoto Domain

Thinking Development

Analytical   Thinking     (การคิดวิเคราะห์)
System       Thinking    (การคิดเป็นระบบ)
Critical        Thinking    (การคิดสังเคราะห์)
Reflective    Thinking    (การสะท้อนคิด)
          Logical        Thinking    (การคิดแบบตรรกะ)
 Analogical   Thinking    (การคิดเชิงเปรียบเทียบ)
Practical       Thinking   (การคิดแบบลงมือปฏิบัติ)
Deliberative  Thinking   (การคิดแบบบูรณาการ)
Creative       Thinking   (การคิดสร้างสรรค์)
Team          Thinking    (การคิดเป็นทีม)

"ระบบการสอน"

สัปดาห์ที่ 4 วิชา 21035203 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ผู้สอน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี



ADDIE Model
digitalchalk-the-addie-model-300x300
ที่มา:http://www.http://cognitiveperformancegroup.com/2014/08/06/addie-model-debate-side-on/

หลักการออกแบบของ ADDIE model
มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์  Analysis
2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้  Implementation
5. ขั้นการประเมินผล   Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
2.  การวิเคราะห์ผู้เรียน
3.  การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4.  การวิเคราะห์เนื้อหา
 
ขั้นตอนการออกแบบ (Design)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การออกแบบ Courseware  (การออกแบบบทเรียน)                ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   เนื้อหา   แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)  สื่อ  กิจกรรม  วิธีการนำเสนอ  และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
 
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ  สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1.  การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2.  การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ  3.  การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4.  การกำหนดสี ได้แก่  สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ
5.  การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
ขั้นตอนการพัฒนา (Develop)  (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การเตรียมการ  การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
     1.1  การเตรียมข้อความ
     1.2  การเตรียมภาพ
     1.3  การเตรียมเสียง 
     1.4  การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน 
2.  การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว  ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน  
    หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว    ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement)    การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย  เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน  และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน  ที่สร้างขึ้น กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก กลุ่ม  หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน




ASSURE Model 

หลักการออกแบบ ASSURE Model มีรายละเอียดดังนี้
 1.Analyze learners  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
 2.State objectives    การกำหนดวัตถุประสงค์
 3.Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
 4.Utilize media and materials  การใช้สื่อ
 5.Require learner participation  การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
 6.Evaluate and revise  การประเมินการใช้สื่อ

1.Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
     การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
   1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
   2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
     2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
     2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
     2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
     2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน

2.State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
     การเรียนการสอน ในแต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ
    1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
    2. จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
    3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ

3.Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
    การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
    3.1การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ 
    - ลักษณะผู้เรียน
    - วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
    - เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
    - สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
   3.2การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้

    3.3การออกแบบสื่อใหม่
    กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่

4.Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
    1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน
    2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก แสง การระบายอากาศ และอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
    3. เตรียมผู้เรียน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียม
ผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ โดย การแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้
    4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
        4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ 
โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา พูดเสียง เอ้อ………อ้า…… เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจ ท่าทางเหล่านี้แทน
        4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหัน ข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน
        4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง
        4.4 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
        4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไปจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
        4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว

5.Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)
     การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย (overt respone) โดยการพูดหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม

6.Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
     หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
    - การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    - การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
    - การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด




Dick & Carey Model ประกอบ ดวย 10 ขั้นตอน 
       เริ่มตั้งแตการแยกแยะเปาหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดท ีขั้นตอนของการ พัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียดดังนี้
    1. แยกแยะเปาหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals) 
        ขัั้นตอนแรกเปนการ แยกแยะเปาหมายของบทเรียนเพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตามที่ตองการ เปาหมายของการเรียน ในสวนนี้จะเกิดจากการวิเคราะหความตองการ (Need Analysis) กอน แลวจึงกําหนดเปาหมาย ของการเรียน โดยพิจารณาจากสวนตาง ๆ ดังตอไปนี้
      1.1 รายละเอียดของเปาหมายของการเรียนที่มีอยู
      1.2 ผลจากการวิเคราะหความตองการ
      1.3 ขอจํากัดหรืออุปสรรคตาง ๆ ในการเรียน
      1.4 ผลจากการวิเคราะหผูเรียนคนอื่น ๆ ที่เรียนจบแลว Revise Instruction Conduct Instructional Analysis Identify Instructional Goals Identify Entry Behaviors Write Performance Objectives Develop Instructional Strategy Develop Criterion Reference Test Develop & Select Instructional Materials Develop & Conduct Formative Evaluation Develop & Conduct Summative Evaluation การออกแบบระบบการสอน

2. วิเคราะหการเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากไดเปาหมายของการ เรียนแลว         ขั้นตอไปจะเปนการวิเคราะหเนื้อหาบทเรียนและวิเคราะหผูเรียน เพื่อตัดสินวาความรู และทักษะใดที่จะทําใหผูเรียนบรรลุตามเปาหมายที่กําหนดไวประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
    2.1 กําหนดสมรรถนะของผูเรียนหลังจากที่เรียนจบแลว
    2.2 กําหนดขั้นตอนการนําเสนอบทเรียน
    3. กําหนดพฤติกรรมของผูเรียนที่จะเขาเรียน (Identify Entry Behaviors) เปนขั้นตอนที่จะพิจารณาวาพฤติกรรมใดที่จําปนของผูเรียนกอนที่จะเขาสูกระบวนการเรียนการสอนประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
    3.1 การกําหนดความรูพื้นฐานและทักษะที่จําเปนสําหรับผูเรียน
    3.2 คุณลักษณะที่สําคัญของผูเรียน ในการดําเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน

4. เขียนวัตถุประสงคของการกระทํา (Write Performance Objectives) 
    ในที่นี้ก็คือการ เขียนวัตถุประสงคเชิงพฤติกรรมท ี่ สามารถวัดไดหรือสังเกตไดของบทเรียนแตละหนวย ซึ่งผูเรียนจะตองแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแลว โดยนําผลลัพธที่ไดจาก ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงคเชิงพฤติกรรมจะประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
    4.1 งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผูเรียนแสดงออกในรูปของการกระทําหลังจบบทเรียน แลว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได
    4.2 เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
    4.3 เกณฑ(Criterion) ของงานหรือภารกิจของผูเรียนที่กระทําได

5. พัฒนาเกณฑอางอิงเพ ื่อใชทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests) 
    เปนการกําหนดเกณฑมาตรฐานของบทเรียนที่ผูเรียนจะตองทําไดหลังจากจบบทเรียนแลว ในที่นี้ ก็คือ เกณฑทีใชวัดผลจากแบบฝกหัดหรือแบบทดสอบตาง ๆ ที่ใชในบทเรียน

6. พัฒนากลยุทธดานการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) 
    เปนการออกแบบและพัฒนารายละเอียดตาง ๆ ของบทเรียน ใหสอดคลองตามวัตถุประสงคที่กําหนดไว รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนําเสนอบทเรียนดวย เชน ระบบเรียนรูร วมกัน (Collaborative System) ระบบผูเรียนเปนศูนยกลาง (Student-Centered System)หรือ ระบบผูสอนเปนผูนํา (Instructor-led System) เปนตน ซึงผ่ ลลัพธของกลยุทธที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยูในรูปของ บทดําเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
    6.1 การนําเสนอเน ื้อหาบทเรียน
    6.2 กิจกรรมการเรียนการสอน
    6.3 แบบฝกหัดและการตรวจปรับ
    6.4 การทดสอบ
    6.5 การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบและพัฒนาคอรสแวรสําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร

7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)
    เปนขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดําเนินเรื่องในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช วัสดุการเรียนที่สอดคลองกับเนื้อหาและวัตถุประสงคของบทเรียน ไดแก สื่อการเรียน ทั้งสื่อทีมี่อยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสรางสรรคขึ้นมาใหม ผลลัพธที่ไดจากขั้นตอนนี้มีดังนี้
    7.1 คูมือการใชบทเรียนของผูเรียนและผูสอน
    7.2 บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยูในรูปแบบตาง ๆ ดังนี้
          7.2.1 ระบบสนับสนุนการกระทําดวยอิเล็กทรอนิกส หรือ EPSS (Electronic Performance Support Systems)
          7.2.2 บทเรียนสําหรับผูสอน ในกรณีที่เปนระบบผูสอนเปนผูนํา
          7.2.3 บทเรียนคอมพิวเตอรแบบใชงานโดยลําพัง เชน CAI, CBT
          7.2.4 บทเรียนคอมพิวเตอรแบบใชงานบนเครือขาย เชน WBI, WBT
          7.2.5 e-Learning

8. พัฒนาและดําเนินการประเมินผลระหวางดําเนินการ (Develop & Conduct Formative Evaluation) 
     เปนการประเมินผลการดําเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่ออนําขอมูลที่ไดไปปรับปรุงบทเรียนใหมีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบดวย ขั้นตอนยอย ดังนี้
     8.1 การประเมินผลแบบตัวตอตัว (One-to-One Evaluation)
     8.2 การประเมินผลแบบกลุมยอย (Small-Group Evaluation) 8.3 การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)

 9. พัฒนาและดําเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation)             เปนการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ไดแก การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของ บทเรียน ซึ่งจําแนกออกเปน ระยะ ดังนี้
     9.1 การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
     9.1 การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation) 

10. ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เปนการปรับปรุงและแกไขบทเรียนที่ พัฒนาขึ้น ไดแก เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธการทดสอบ การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนและสวนประกอบตาง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธที่ได



Gerlach And Ely Model



การออกแบบระบบการสอน ประกอบดวย 10 ขั้นตอนดังนี้
 1. รายละเอียดของเนื้อหา (Specification of Content) 
     เปนการพิจารณารายละเอียดของเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดที่จะนํามาสรางเปนบทเรียน 

2. รายละเอียดของวัตถุประสงค(Specification of Objectives)
    เปนการพิจารณารายละเอียดของวัตถุประสงค ซึ่งทั้งวัตถุประสงคและเนื้อหาบทเรียนจะตองมีความสัมพันธและสอดคลองกัน จึงอาจจะพิจารณาสวนใดสวนหนึ่งกอนก็ไดหรืออาจจะพิจารณาพรอม ๆ กันก็ได ถามีวัตถุประสงคอยูแลว ก็จะเปนการพิจารณาความสอดคลองระหวางวัตถุประสงคกับเนื้อหา บทเรียน แตถายังขาดสวนใดสวนหนึง่ ก็จะตองวิเคราะหขึ้นใหม เพื่อใหวัตถุประสงคสัมพันธและ สอดคลองกับเนื้อหาบทเรียน เพื่อจะไดนําไปใชในขั้นตอไป ในสวนนี้เกอลาช แอนดเอลี ไดแบงวัตถุประสงคออกเปน ชนิด ดังนี้
    2.1 วัตถุประสงคระยะยาว (Long Range Objective) หมายถึง วัตถุประสงคทั่วไป 
    2.2 วัตถุประสงคระยะสั้น (Short Range Objective) หมายถึง วัตถุประสงคเฉพาะ 

3. การประเมินพฤติกรรมของผูเรียน (Assessment of Entering Behaviors) 
    หมายถึง กระบวนการประเมินความรูพื้นฐานของผูเรียนใหผานตามเกณฑขั้นต่ํ่าที่จะยอมรับไดกอนที่จะเขา สูกระบวนการเรียนรู เพื่อนําไปใชในการวางแผนการเรียนการสอน การพิจารณาพฤติกรรมของ ผูเรียน สามารถดําเนินการไดดังนี้ 
   3.1 การใชบันทึกขอมูลที่มีอยู (Use of Available Records) ไดแก หลักฐานทางการ ศึกษา วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเอกสารอื่น ๆ ที่อางอิงถึงความรูทักษะ และประสบการณของ ผูเรียน 
   3.2 แบบทดสอบที่ผูสอนสรางขึน้ (Teacher-designed Test) ไดแกแบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสัมภาษณหรือ แบบสอบถาม ที่ผู้สอนสรางขึ้น เพื่อใชประเมินความรูความสามารถ ของผูเรียนในประเด็นที่ตองการ เพื่อจะไดทราบเกี่ยวกับความรูพื้นฐานของผูเรียน 

4. กําหนดกลยุทธและเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques)
    เปนการกําหนดกลยุทธในการนําเสนอบทเรียน รวมทั้งใชเทคนิคตาง ๆ ในการนําเสนอเพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูบรรลุตามวัตถุประสงคที่ตั้งไวแบงออกได วิธีการใหญ ๆ ดังนี้ 
    4.1 การบรรยาย (Expository Approach) เปนวิธีการสอนแบบดั้งเดิมที่ผู้อนมักจะใช ตํารา หนังสือ สื่อ และประสบการณ เชน นําเสนอกับผูเรียนกลุมใหญ โดยการบรรยายหรือการ อภิปราย โดยใชวิธีการบรรยายโดยตรงหรือใชวีดิทัศนถายทอดการบรรยายระยะไกล 
    4.2 วิธีการสืบเสาะแสวงหาความรู (Inquiry Approach) วิธีการน ี้ บทบาทของผูสอนจะ ทําหนาที่เปนผู้ช่วยเหลือในการจัดประสบการณการเรียนรู โดยการใชคําถามหรือสรางเงื่อนไขให ผูเรียนไดเสาะแสวงหาคําตอบในการแกปญหา โดยใชตํารา หนังสือ สื่อ หรือแหลงความรูอื่น ๆ ผูเรียนจะตองพยายามรวบรวมและจัดระบบขอมูลดวยตัวเอง (Active Participations) เพื่อใหไดมา ซึ่งขอสรุปที่นำไปใชในการเรียนการสอนได การออกแบบและพัฒนาคอรสแวรสําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร 

5. การจัดผูเรียนออกเปนกลุม (Organization of Students into Groups) 
     เปนการจัดแบง ผูเรียนออกเปนกลุม ๆ ตามขนาดที่เหมาะสม โดยการเรียนรวมกันเปนกลุมเล็ก ๆ หรือโดยการ บรรยายเปนกลุมใหญ หรือจัดเปนรายบุคคลระหวางผูสอนกับผูเรียนเทานั้น ซึ่งควรจะพิจารณา วัตถุประสงคเนื้อหา วิธีการเรียน และการจัดกลุมผูเรียนไปพรอม ๆ กัน 

6. การกําหนดเวลา (Allocation of Time)
    เปนการกําหนดเวลาเรียนของบทเรียน โดย พิจารณาจากเนื้อหาวิชา วัตถุประสงค กิจกรรมการเรียน การบริหาร ความสามารถ และความ สนใจของผูเรียน เปนตน สิ่งเหลานี้จะนํามาใชในการพิจารณาแบงเวลาและกําหนดเวลาเรียนให เหมาะสม 

7. การกําหนดสถานที่เรียน (Allocation of Space)
    เปนการจัดสถานที่เรียน ซึ่งขึ้นอยูกับขนาดของกลุมผูเรียน และวิธีการเรียนตามรูปแบบการสอนของ
เกอลาช แอนดเอลีไดแบงขนาด ของหองเรียนออกได  ขนาด ดังนี้
    7.1 หองเรียนสําหรับผูเรียนกลุมใหญ 
    7.2 หองเรียนสําหรับผูเรียนกลุมเล็ก 
    7.3 หองเรียนสําหรับรายบุคคล 

8. การเลือกแหลงขอมูล (Selection of Resources)
    เปนการเลือกแหลงขอมูลที่ใชในบทเรียน ไดแก วัสดุการเรียน (Instructional Materials)และวัสดุสนับสนุนกิจกรรมการเรียน เชน สื่อตาง ๆ ทั้งที่มีอยูและสื่อที่สรางสรรคขึ้นมาใหม ซึ่งแบงออกเปน ประเภทดังน ี้ 
    8.1 วัสดุของจริงและบุคคล (Real Materials and People) 
    8.2 วัสดุทัศนสําหรับฉาย (Visual Materials for Projection) 
    8.3 วัสดุเสียง (Audio Materials) 8.4 วัสดุสิ่งพิมพ(Printed Materials) 
    8.5 วัสดุสําหรับแสดง (Display Materials) 

9. การประเมินผลการเรียนรู (Evaluation of Performance) 
    ขั้นตอนนี้เปนการประเมินผล พฤติกรรมของผูเรียนที่เกิดจากปฏิสัมพันธระหวางผูสอนกับผูเรียน หรือ ระหวางผูเรียนกับผูเรียน คนอื่น ๆ หรือระหวางผูเรียนกับบทเรียน เปนตน เพื่อสรุปการประเมินผลการเรียนรูตามวัตถุ ประสงคที่กําหนดไว 

10. การวิเคราะหขอมูลยอนกลับ (Analysis of Feedback) 
      เปนการวิเคราะหผลที่ไดจาก การประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ผานมา รวมถึงการใชบทเรียนทั่ว ๆ ไป หลังจากนั้นจึงนํา ขอมูลที่ไดยอนกลับไปปรับปรุงแกไขบทเรียนตั้งแตขั้นตอนแรก เพื่อใหบทเรียนมีคุณภาพดียิ่งขึ้น สามารถนําไปใชกับกลุ่มผูเรียนไดอยางมีประสิทธิภาพ




Klausmeier and Ripple Model

คลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier and Ripple Model) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ ส่วน คือ
1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การดำเนินการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
7. สัมฤทธิผลของนักเรียน
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล แสดงดังภาพประกอบ 


ภาพประกอบ ระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล

ที่มา http://jaidee95.blogspot.com/