จากวงจรการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันคือ 1. จุดมุ่งหมาย (Objective) การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความคิด (ด้านพุทธิพิสัย) ด้านเจตคติ (ด้านจิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ด้านทักษะพิสัย) คือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย ดังนั้น ในการสอนจึงต้องตั้งจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว จึงจะถือว่าเป็นการสอนที่สมบูรณ์ ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้ 2. การเรียนการสอน (Learning Experience) เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้น การสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น 3. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุผลมากน้อยเพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญาและทางร่างกาย ซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและวิธีการเรียน การสอน กล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่าต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไร หรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่า จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ซึ่งมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย วิธีการวัดและประเมินผลจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา ดังนั้นครูหรือผู้ประเมินต้องสามารถตีความหมายของจุดมุ่งหมายรายวิชานั้น ๆ ให้ถูกต้อง ครอบคลุมและชัดเจน จึงจะสามารถวัดและประเมินได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ แต่ปัญหาที่มักพบในทางปฏิบัติ คือ จากจุดมุ่งหมายของรายวิชาเดียวกัน ครูผู้สอนแต่ละคนมักจะตีความต่างกันไป โดยเฉพาะในแง่ของขอบข่าย อันส่งผลให้การดำเนินการสอนและการสอบวัดในประเด็นที่แตกต่างกันไป
ที่มา http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit3/level3-1.html
E - TEACHER
ที่มาhttp://support.spca.bc.ca/images/content/pagebuilder/eTeacher_Banner.jpg
ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการน าเทคโนโลยีมาช่วยการ
จัดการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ e – learning แต่อาจเป็น
รูปแบบที่ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาไม่คุ้นเคย ไม่ช านาญ โดยเฉพาะในสถานศึกษา รร.
เหล่า สายวิทยาการและหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ
ดังนั้นเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ e–
learning ในสถานศึกษาและ รร.เหล่า สายวิทยาการ
และหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ. มีประสิทธิภาพ และ
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในส่วนครู อาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน/ ผู้เข้ารับการศึกษา และ
สถาบันการศึกษา
สถานศึกษาจึงจ าเป็นต้องมีการจัดการที่เป็น
ระบบและครบในทุกมิติโดยเฉพาะในมิติของครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีการพูดถึงหรือกล่าวถึง
น้อยที่สุดแต่ส าคัญที่สุด
การจะเปลี่ยนแปลงครูคนหนึ่งจากระบบการเรียนการสอนแบบเดิมให้เข้าสู่การเรียนการ
สอนแบบ e–learning นั้นต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะครูทหาร
ดังนั้นสถานศึกษา รร.เหล่า สายวิทยาการและหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ. ต้องมีการ
เตรียมความพร้อม ให้กับครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของตนเองให้พร้อมเป็นล าดับแรก
ในการเป็น e – teacher เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ e–learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก็คือครูในยุคอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
บทบาทของ e – teacher ประกอบด้วย 2 ส่วน
คือ
ส่วนที่ 1 ครูท าหน้าที่ วางแผน ออกแบบ ด าเนินการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและ
จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอ รวมทั้งจัดการประเมินผลอย่างชัดเจนได้มาตรฐาน
ส่วนที่ 2 ครูเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อในการ
จัดการเรียนรู้
ลักษณะของ e – teacher สรุปได้ 9 ประการ ดังนี้
1. Experience ครูควรสร้างสรรค์และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet
2. Extended ครูควรค้นหาความรู้ตลอดเวลา มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้า
หาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
3. Expanded ครูควรขยายผลความรู้ เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ชุมชนโดยรวม
4. Exploration ครูควรค้นคว้าและเลือกเนื้อหาสาระ เอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์ในการน ามาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
5. Evaluation ครูควรเป็นนักประเมินที่ดี มีการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินผล และให้
เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีจะใช้ได้กับการเรียนทุก
รูปแบบ
6. End – User ครูควรเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายและสามารถเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี
เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ได้ เป็นต้น
7. Enabler ครูควรสามารถน าเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ มาใช้ในการสร้างบทเรียน สื่อ
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากขึ้น
8. Engagement เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
9. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว
เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e 8 ข้อข้างต้น
การปรับบทบาทและพัฒนาครูให้เป็น e – teacher อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีความจ าเป็นอย่างยิ่ง
กับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเป็นกลไกส าคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความส าเร็จ
ดังนั้นการท าครู ให้เป็น e - teacher ไม่จ าเป็นต้องต้องหมายถึงครูคนเดียว แต่อาจเป็น
การท างานเป็นทีมระหว่างครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่อาศัยศักยภาพของแต่ละคนมา
ร่วมกันท างาน โดยแต่ละคนในทีมเป็น e - teacher ทั้งนั้น เพียงแต่คนก็แสดงบทบาทในส่วนของ
ตนเองที่แตกต่างกัน ทีมอาจจะประกอบไปด้วยสมาชิก 2 – 4 คน ก็เพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอน
แบบ e – learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานศึกษาจะต้องวิเคราะห์ว่าในการจัดการเรียนการสอนครู อาจารย์ ขาดองค์ประกอบ
ในเรื่องใดบ้าง เช่นขาดความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยี สถานศึกษาก็จ าเป็นต้องเพิ่มเติมในส่วนนี้
มิใช่จัดการอบรม e - teacher ให้ครูแต่ละคนไปด าเนินการกันเอง
เอกสารอ้างอิง
" อีครู.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.academia.edu/4351116 / e -Teachers
2546
" เก้าส าคัญสู่ E – Teacher ". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hu.ac.th/academic/
general article / e – teacher.html
|