หลักการออกแบบ ASSURE Model มีรายละเอียดดังนี้
1.Analyze learners การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
2.State objectives การกำหนดวัตถุประสงค์
3.Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
4.Utilize media and materials การใช้สื่อ
5.Require learner participation การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
6.Evaluate and revise การประเมินการใช้สื่อ
1.Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
2.State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
การเรียนการสอน ในแต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ
1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
2. จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
3.Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
3.1การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
- ลักษณะผู้เรียน
- วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
- เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
- สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
3.2การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้
3.3การออกแบบสื่อใหม่
กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่
4.Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน
2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก แสง การระบายอากาศ และอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
3. เตรียมผู้เรียน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียม
ผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ โดย การแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้
4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ
โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา พูดเสียง เอ้อ………อ้า…… เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจ ท่าทางเหล่านี้แทน
4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหัน ข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน
4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง
4.4 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไปจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว
5.Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)
การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย (overt respone) โดยการพูดหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
6.Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
- การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
- การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
Dick & Carey Model ประกอบ ดวย 10 ขั้นตอน
เริ่มตั้งแตการแยกแยะเปาหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดท ีขั้นตอนของการ พัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียดดังนี้
1. แยกแยะเปาหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals)
ขัั้นตอนแรกเปนการ แยกแยะเปาหมายของบทเรียนเพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตามที่ตองการ เปาหมายของการเรียน ในสวนนี้จะเกิดจากการวิเคราะหความตองการ (Need Analysis) กอน แลวจึงกําหนดเปาหมาย ของการเรียน โดยพิจารณาจากสวนตาง ๆ ดังตอไปนี้
1.1 รายละเอียดของเปาหมายของการเรียนที่มีอยู
1.2 ผลจากการวิเคราะหความตองการ
1.3 ขอจํากัดหรืออุปสรรคตาง ๆ ในการเรียน
1.4 ผลจากการวิเคราะหผูเรียนคนอื่น ๆ ที่เรียนจบแลว Revise Instruction Conduct Instructional Analysis Identify Instructional Goals Identify Entry Behaviors Write Performance Objectives Develop Instructional Strategy Develop Criterion Reference Test Develop & Select Instructional Materials Develop & Conduct Formative Evaluation Develop & Conduct Summative Evaluation การออกแบบระบบการสอน
2. วิเคราะหการเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากไดเปาหมายของการ เรียนแลว ขั้นตอไปจะเปนการวิเคราะหเนื้อหาบทเรียนและวิเคราะหผูเรียน เพื่อตัดสินวาความรู และทักษะใดที่จะทําใหผูเรียนบรรลุตามเปาหมายที่กําหนดไวประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
2.1 กําหนดสมรรถนะของผูเรียนหลังจากที่เรียนจบแลว
2.2 กําหนดขั้นตอนการนําเสนอบทเรียน
3. กําหนดพฤติกรรมของผูเรียนที่จะเขาเรียน (Identify Entry Behaviors) เปนขั้นตอนที่จะพิจารณาวาพฤติกรรมใดที่จําปนของผูเรียนกอนที่จะเขาสูกระบวนการเรียนการสอนประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
3.1 การกําหนดความรูพื้นฐานและทักษะที่จําเปนสําหรับผูเรียน
3.2 คุณลักษณะที่สําคัญของผูเรียน ในการดําเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
4. เขียนวัตถุประสงคของการกระทํา (Write Performance Objectives)
ในที่นี้ก็คือการ เขียนวัตถุประสงคเชิงพฤติกรรมท ี่ สามารถวัดไดหรือสังเกตไดของบทเรียนแตละหนวย ซึ่งผูเรียนจะตองแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแลว โดยนําผลลัพธที่ไดจาก 3 ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงคเชิงพฤติกรรมจะประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
4.1 งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผูเรียนแสดงออกในรูปของการกระทําหลังจบบทเรียน แลว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได
4.2 เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
4.3 เกณฑ(Criterion) ของงานหรือภารกิจของผูเรียนที่กระทําได
5. พัฒนาเกณฑอางอิงเพ ื่อใชทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests)
เปนการกําหนดเกณฑมาตรฐานของบทเรียนที่ผูเรียนจะตองทําไดหลังจากจบบทเรียนแลว ในที่นี้ ก็คือ เกณฑทีใชวัดผลจากแบบฝกหัดหรือแบบทดสอบตาง ๆ ที่ใชในบทเรียน
6. พัฒนากลยุทธดานการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy)
เปนการออกแบบและพัฒนารายละเอียดตาง ๆ ของบทเรียน ใหสอดคลองตามวัตถุประสงคที่กําหนดไว รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนําเสนอบทเรียนดวย เชน ระบบเรียนรูร วมกัน (Collaborative System) ระบบผูเรียนเปนศูนยกลาง (Student-Centered System)หรือ ระบบผูสอนเปนผูนํา (Instructor-led System) เปนตน ซึงผ่ ลลัพธของกลยุทธที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยูในรูปของ บทดําเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบดวยสวนตาง ๆ ดังนี้
6.1 การนําเสนอเน ื้อหาบทเรียน
6.2 กิจกรรมการเรียนการสอน
6.3 แบบฝกหัดและการตรวจปรับ
6.4 การทดสอบ
6.5 การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบและพัฒนาคอรสแวรสําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร
7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)
เปนขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดําเนินเรื่องในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช วัสดุการเรียนที่สอดคลองกับเนื้อหาและวัตถุประสงคของบทเรียน ไดแก สื่อการเรียน ทั้งสื่อทีมี่อยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสรางสรรคขึ้นมาใหม ผลลัพธที่ไดจากขั้นตอนนี้มีดังนี้
7.1 คูมือการใชบทเรียนของผูเรียนและผูสอน
7.2 บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยูในรูปแบบตาง ๆ ดังนี้
7.2.1 ระบบสนับสนุนการกระทําดวยอิเล็กทรอนิกส หรือ EPSS (Electronic Performance Support Systems)
7.2.2 บทเรียนสําหรับผูสอน ในกรณีที่เปนระบบผูสอนเปนผูนํา
7.2.3 บทเรียนคอมพิวเตอรแบบใชงานโดยลําพัง เชน CAI, CBT
7.2.4 บทเรียนคอมพิวเตอรแบบใชงานบนเครือขาย เชน WBI, WBT
7.2.5 e-Learning
8. พัฒนาและดําเนินการประเมินผลระหวางดําเนินการ (Develop & Conduct Formative Evaluation)
เปนการประเมินผลการดําเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่ออนําขอมูลที่ไดไปปรับปรุงบทเรียนใหมีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบดวย 3 ขั้นตอนยอย ดังนี้
8.1 การประเมินผลแบบตัวตอตัว (One-to-One Evaluation)
8.2 การประเมินผลแบบกลุมยอย (Small-Group Evaluation) 8.3 การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)
9. พัฒนาและดําเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation) เปนการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ไดแก การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของ บทเรียน ซึ่งจําแนกออกเปน 2 ระยะ ดังนี้
9.1 การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
9.1 การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation)
10. ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เปนการปรับปรุงและแกไขบทเรียนที่ พัฒนาขึ้น ไดแก เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธการทดสอบ การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนและสวนประกอบตาง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธที่ได
Gerlach And Ely Model
การออกแบบระบบการสอน ประกอบดวย 10 ขั้นตอนดังนี้
1. รายละเอียดของเนื้อหา (Specification of Content)
เปนการพิจารณารายละเอียดของเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดที่จะนํามาสรางเปนบทเรียน
2. รายละเอียดของวัตถุประสงค(Specification of Objectives)
เปนการพิจารณารายละเอียดของวัตถุประสงค ซึ่งทั้งวัตถุประสงคและเนื้อหาบทเรียนจะตองมีความสัมพันธและสอดคลองกัน จึงอาจจะพิจารณาสวนใดสวนหนึ่งกอนก็ไดหรืออาจจะพิจารณาพรอม ๆ กันก็ได ถามีวัตถุประสงคอยูแลว ก็จะเปนการพิจารณาความสอดคลองระหวางวัตถุประสงคกับเนื้อหา บทเรียน แตถายังขาดสวนใดสวนหนึง่ ก็จะตองวิเคราะหขึ้นใหม เพื่อใหวัตถุประสงคสัมพันธและ สอดคลองกับเนื้อหาบทเรียน เพื่อจะไดนําไปใชในขั้นตอไป ในสวนนี้เกอลาช แอนดเอลี ไดแบงวัตถุประสงคออกเปน 2 ชนิด ดังนี้
2.1 วัตถุประสงคระยะยาว (Long Range Objective) หมายถึง วัตถุประสงคทั่วไป
2.2 วัตถุประสงคระยะสั้น (Short Range Objective) หมายถึง วัตถุประสงคเฉพาะ
3. การประเมินพฤติกรรมของผูเรียน (Assessment of Entering Behaviors)
หมายถึง กระบวนการประเมินความรูพื้นฐานของผูเรียนใหผานตามเกณฑขั้นต่ํ่าที่จะยอมรับไดกอนที่จะเขา สูกระบวนการเรียนรู เพื่อนําไปใชในการวางแผนการเรียนการสอน การพิจารณาพฤติกรรมของ ผูเรียน สามารถดําเนินการไดดังนี้
3.1 การใชบันทึกขอมูลที่มีอยู (Use of Available Records) ไดแก หลักฐานทางการ ศึกษา วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเอกสารอื่น ๆ ที่อางอิงถึงความรูทักษะ และประสบการณของ ผูเรียน
3.2 แบบทดสอบที่ผูสอนสรางขึน้ (Teacher-designed Test) ไดแกแบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสัมภาษณหรือ แบบสอบถาม ที่ผู้สอนสรางขึ้น เพื่อใชประเมินความรูความสามารถ ของผูเรียนในประเด็นที่ตองการ เพื่อจะไดทราบเกี่ยวกับความรูพื้นฐานของผูเรียน
4. กําหนดกลยุทธและเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques)
เปนการกําหนดกลยุทธในการนําเสนอบทเรียน รวมทั้งใชเทคนิคตาง ๆ ในการนําเสนอเพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูบรรลุตามวัตถุประสงคที่ตั้งไวแบงออกได 2 วิธีการใหญ ๆ ดังนี้
4.1 การบรรยาย (Expository Approach) เปนวิธีการสอนแบบดั้งเดิมที่ผู้อนมักจะใช ตํารา หนังสือ สื่อ และประสบการณ เชน นําเสนอกับผูเรียนกลุมใหญ โดยการบรรยายหรือการ อภิปราย โดยใชวิธีการบรรยายโดยตรงหรือใชวีดิทัศนถายทอดการบรรยายระยะไกล
4.2 วิธีการสืบเสาะแสวงหาความรู (Inquiry Approach) วิธีการน ี้ บทบาทของผูสอนจะ ทําหนาที่เปนผู้ช่วยเหลือในการจัดประสบการณการเรียนรู โดยการใชคําถามหรือสรางเงื่อนไขให ผูเรียนไดเสาะแสวงหาคําตอบในการแกปญหา โดยใชตํารา หนังสือ สื่อ หรือแหลงความรูอื่น ๆ ผูเรียนจะตองพยายามรวบรวมและจัดระบบขอมูลดวยตัวเอง (Active Participations) เพื่อใหไดมา ซึ่งขอสรุปที่นำไปใชในการเรียนการสอนได การออกแบบและพัฒนาคอรสแวรสําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร
5. การจัดผูเรียนออกเปนกลุม (Organization of Students into Groups)
เปนการจัดแบง ผูเรียนออกเปนกลุม ๆ ตามขนาดที่เหมาะสม โดยการเรียนรวมกันเปนกลุมเล็ก ๆ หรือโดยการ บรรยายเปนกลุมใหญ หรือจัดเปนรายบุคคลระหวางผูสอนกับผูเรียนเทานั้น ซึ่งควรจะพิจารณา วัตถุประสงคเนื้อหา วิธีการเรียน และการจัดกลุมผูเรียนไปพรอม ๆ กัน
6. การกําหนดเวลา (Allocation of Time)
เปนการกําหนดเวลาเรียนของบทเรียน โดย พิจารณาจากเนื้อหาวิชา วัตถุประสงค กิจกรรมการเรียน การบริหาร ความสามารถ และความ สนใจของผูเรียน เปนตน สิ่งเหลานี้จะนํามาใชในการพิจารณาแบงเวลาและกําหนดเวลาเรียนให เหมาะสม
7. การกําหนดสถานที่เรียน (Allocation of Space)
เปนการจัดสถานที่เรียน ซึ่งขึ้นอยูกับขนาดของกลุมผูเรียน และวิธีการเรียนตามรูปแบบการสอนของ
เกอลาช แอนดเอลีไดแบงขนาด ของหองเรียนออกได 3 ขนาด ดังนี้
7.1 หองเรียนสําหรับผูเรียนกลุมใหญ
7.2 หองเรียนสําหรับผูเรียนกลุมเล็ก
7.3 หองเรียนสําหรับรายบุคคล
8. การเลือกแหลงขอมูล (Selection of Resources)
เปนการเลือกแหลงขอมูลที่ใชในบทเรียน ไดแก วัสดุการเรียน (Instructional Materials)และวัสดุสนับสนุนกิจกรรมการเรียน เชน สื่อตาง ๆ ทั้งที่มีอยูและสื่อที่สรางสรรคขึ้นมาใหม ซึ่งแบงออกเปน 5 ประเภทดังน ี้
8.1 วัสดุของจริงและบุคคล (Real Materials and People)
8.2 วัสดุทัศนสําหรับฉาย (Visual Materials for Projection)
8.3 วัสดุเสียง (Audio Materials) 8.4 วัสดุสิ่งพิมพ(Printed Materials)
8.5 วัสดุสําหรับแสดง (Display Materials)
9. การประเมินผลการเรียนรู (Evaluation of Performance)
ขั้นตอนนี้เปนการประเมินผล พฤติกรรมของผูเรียนที่เกิดจากปฏิสัมพันธระหวางผูสอนกับผูเรียน หรือ ระหวางผูเรียนกับผูเรียน คนอื่น ๆ หรือระหวางผูเรียนกับบทเรียน เปนตน เพื่อสรุปการประเมินผลการเรียนรูตามวัตถุ ประสงคที่กําหนดไว
10. การวิเคราะหขอมูลยอนกลับ (Analysis of Feedback)
เปนการวิเคราะหผลที่ไดจาก การประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ผานมา รวมถึงการใชบทเรียนทั่ว ๆ ไป หลังจากนั้นจึงนํา ขอมูลที่ไดยอนกลับไปปรับปรุงแกไขบทเรียนตั้งแตขั้นตอนแรก เพื่อใหบทเรียนมีคุณภาพดียิ่งขึ้น สามารถนําไปใชกับกลุ่มผูเรียนไดอยางมีประสิทธิภาพ
Klausmeier and Ripple Model
คลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier and Ripple Model) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การดำเนินการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
7. สัมฤทธิผลของนักเรียน
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล แสดงดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ ระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล