ผู้สอน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี
"Outcome Based Education"
การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)
การศึกษาของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่มุ่ง “ใส่” เนื้อหาให้ผู้เรียน (Input-based Education) เราคิดว่านักเรียนนักศึกษาควรจะต้องมีความรู้อะไร เราก็จะ “ใส่ความรู้” (Input) เข้าไป โดย วิธีการ “บรรยาย” ให้ฟัง และบังคับให้จำด้วยการ “สอบ” การเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาไทยจึงเป็นหรือ การเรียนรู้จากการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) โดยอาจารย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา (Teacher-centered) การศึกษาเช่นนี้มุ่งการ “จ า” ไม่ได้มุ่งที่การ “คิด” เพราะถ้าหากว่า “คิด” แล้วไม่เหมือนอาจารย์และตอบข้อสอบต่างจากที่อาจารย์สอนก็จะไม่ได้คะแนน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่า สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทั้งหมดในโลกใบนี้ ก็เพราะมนุษย์มีความสามารถในการ “คิด” เมื่อคิดเป็นก็วิเคราะห์ ปัญหาได้หาสาเหตุได้และหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่เรากลับให้นักเรียนนักศึกษาของเรา “จำ”โดยไม่ มุ่งให้ “คิด” การศึกษาไทยจึงไม่สามารถสร้าง “คน” ที่มีความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ต่อให้มีความรู้ก็ใช้ ความรู้ไม่เป็น และมักจะใช้ความรู้โดยไม่รับผิดชอบ
บางทีปัญหาทั้งหมดของเราอาจจะมีสาเหตุง่าย ๆ คือ เราเองก็ลืม “คิด” ไปว่า “เป้าหมาย” หรือ “ผลลัพธ์” ของการศึกษาคืออะไร การศึกษาไทยจึงไม่ได้มุ่งผลลัพธ์ แต่มุ่งใส่ความรู้ โดยครูและอาจารย์เป็น ศูนย์กลาง ถ้าจะแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศไทย จะต้องเปลี่ยนจากการศึกษาที่มุ่ง การใส่ความรู้ (Input-based Education) ให้เป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) โดยผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Student-centered)และครูอาจารย์เป็นผู้จัดกระบวนการ “เรียนรู้” และถ้าเข้าใจความข้อนี้ การ บรรยายก็จะเป็นเพียง “กิจกรรม” หรือวิธีการหนึ่งเท่านั้นในการพาผู้เรียนไปสู่ “ผลลัพธ์” การเรียนรู้ก็จะ เปลี่ยนจากการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) เป็นการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม หรือการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคต่างๆ มากมาย โดยวิธีการที่สำคัญ ที่สุดก็คือ “การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้” (Problem-based Learning) “การท าโครงงานเป็นฐานใน การเรียนรู้” (Project-based Learning) และ “การเรียนรู้โดยการบริการสังคม” (Service Learning) ซึ่ง ล้วนแต่เป็นActivity-based Learning หรือ Active Learning ที่เป็นวิธีการเรียนรู้ของ Outcome-based Education ทั้งสิ้น
๕. ต้องมีการให้ผู้เรียนได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้ (reflection) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และต้องมีการประเมินผล หรือประเมิน “ผลลัพธ์”เพื่อให้ผู้เรียนได้ เกิดการพัฒนาตนเอง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบว่าวิธีการที่ใช้นั้นได้“ผล” หรือไม่ ถ้าไม่ได้ “ผล” หรือได้ “ผล” น้อย ก็ต้องปรับวิธีการให้ได้ผลมากขึ้นในครั้งต่อไป
หลักการของ “การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์” และ “การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน”
เราสามารถสรุปหลักการพื้นฐานของ “การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ที่ เป็น “การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน” (Activity-based Learning) ได้ดังต่อไปนี้
๑. การศึกษาที่มุ่ง “ผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ไม่ใช่การศึกษาที่มุ่ง“ใส่ความรู้” (Input based Education) โดยก่อนอื่นผู้สอนจะตั้ง “ผลลัพธ์” ที่ผู้เรียนควรจะได้หรือควรจะเป็นหลังจาก เสร็จสิ้นการเรียน จากนั้นจึงออกแบบ “กิจกรรมการเรียนรู้” เพื่อมุ่งไปสู่ “ผลลัพธ์” นั้น ขณะที่ การศึกษาที่มุ่ง ใส่ความรู้จะคู่กับการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย ส่วนการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงคู่กันกับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม (Activity-based Learning)
๒. ผู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน ไม่ใช่ผู้สอน แต่คือตัวผู้เรียนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็น“วิทยากร กระบวนการ” (facilitator) ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดได้ และ“เรียนรู้” ด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็น “ศูนย์กลาง” ของการเรียน (student-centered)
๓. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงเป็น “แนวระนาบ” มิใช่ “แนวดิ่ง” ที่อาจารย์มี“อำนาจ” และเป็นผู้ผูกขาด “ความรู้” โดยผู้เรียนมี “หน้าที่” ต้องจดต้องจำต้องทำตามที่อาจารย์บอก และวัดผลว่าถ้าใคร “จำ” และตอบตามที่อาจารย์ “สอน” ได้มากเท่าไร ยิ่งได้คะแนนดีมากเท่านั้น หากเป็นการเรียนการสอน “แนวระนาบ” ที่ครูหรืออาจารย์จะเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนนักศึกษา และเรียนรู้จากนักเรียนนักศึกษา ได้ด้วย
๔. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ไม่ใช้วิธีการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) แต่ใช้ วิธีการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งได้แก่ การ เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) ซึ่งก็คือการให้ โครงงานที่ทำเป็นโครงงานที่ไปบริการสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการใช้ความรู้โดย รับผิดชอบต่อสังคมด้วย ๕. ต้องมีการให้ผู้เรียนได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้ (reflection) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และต้องมีการประเมินผล หรือประเมิน “ผลลัพธ์”เพื่อให้ผู้เรียนได้ เกิดการพัฒนาตนเอง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบว่าวิธีการที่ใช้นั้นได้“ผล” หรือไม่ ถ้าไม่ได้ “ผล” หรือได้ “ผล” น้อย ก็ต้องปรับวิธีการให้ได้ผลมากขึ้นในครั้งต่อไป
ผลการเรียนรู้ของ สพฐ.กำหนดไว้ 3 ด้าน
1. Cognitive Domain
2. Affective Domain
3. Psychomoto Domain
Thinking Development
Analytical Thinking (การคิดวิเคราะห์)
System Thinking (การคิดเป็นระบบ)
Critical Thinking (การคิดสังเคราะห์)
Reflective Thinking (การสะท้อนคิด)
Logical Thinking (การคิดแบบตรรกะ)
Analogical Thinking (การคิดเชิงเปรียบเทียบ)
Practical Thinking (การคิดแบบลงมือปฏิบัติ)
Deliberative Thinking (การคิดแบบบูรณาการ)
Creative Thinking (การคิดสร้างสรรค์)
Team Thinking (การคิดเป็นทีม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น